ชาวจีนดื่มชาโดยมีประวัติการดื่มชามากว่า 4000 ปีแล้ว ชาเป็นเครื่องดื่มที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวันของชาวจีน สิ่งของ 7 อย่างในชีวิตประจำวันของคนจีนคือไม้ ข้าว น้ำมัน เกลือ ซียิ้วน้ำส้มและชา เห็นได้ว่าชามีความสำคัญมากสำหรับชาวจีน
การเลี้ยงน้ำชาเป็นประเพณีของชาวจีน พอมีแขกมาเยี่ยมที่บ้าน เจ้าของบ้านก็จะรีบชงชาที่มีกลิ่นหอมทันที ดื่มชาไปพลางคุยกันไปพลาง ซึ่งเป็นบรรยากาศสบาย ๆ
ประเพณีดื่มชาในจีนมีประวัติยาวนาน เล่ากันว่า ปี 280 ก่อนคริสต์ศักราช ทางภาคใต้ของจีนมีก๊กเล็กชื่อ หวูกั๋ว กษัตริย์ของก๊กนี้โปรดจัดงานเลี้ยงขุนนาง และดื่มเหล้ากันจนเมาไปหมด แต่มีขุนนางคนหนึ่งชื่อเหว่ยจาวดื่มเหล้าไม่เก่ง กษัตริย์ก็เลยโปรดให้เขาดื่มชาแทนเหล้า
หลังจากนั้น ปัญญาชนก็เริ่มใช้ชาเลี้ยงแขก จนถึงสมัยราชวงศ์ถัง การดื่มชาได้กลายเป็นความเคยชินของชาวจีน เล่ากันว่า ประเพณีนี้ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ ประมาณปีค.ศ 713 – 741 ในพุทธศาสนานิกายเซนของจีน พระสงฆ์และศาสนิกในวัดต้องนั่งเข้าฌานเป็นเวลานาน บางครั้งรู้สึกง่วงและอยากกินของเล่น เจ้าอาวาสก็คิดวิธีให้ดื่มชา ทำให้ประสาทตื่น
หลังจากนั้น วิธีนี้ก็ได้เผยแพร่ไปตามท้องถิ่นต่าง ๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน ในสมัยราชวงศ์ถัง ตามบ้านเศรษฐียังมีการจัดห้องต้มน้ำชา ชิมชาและอ่านหนังสือโดยเฉพาะ
ปีค.ศ 780 นายลู่อวี่ ผู้เชี่ยวชาญด้านใบชาของถังได้รวบรวมประสบการณ์การปลูกชา ผลิตใบและดื่มชา และได้เขียนตำราชาซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับชาเล่มแรกของจีน ในสมัยราชวงศ์ซ่ง ฮ่องเต้ ซ่งฮุยจง ชอบจัดงานเลี้ยงน้ำชาขุนนางผู้ใหญ่ และทรงต้มน้ำชาเอง ในพระราชวังหลวงของสมัยราชวงศ์ถัง ยังจัดงานน้ำชาเลี้ยงทูตานุทูตต่างประเทศ
ปัจจุบันในวันเทศกาลเช่นวันขึ้นปีใหม่หรือวันตรุษจีน หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ของจีนส่วนมากจะจัดงานเลี้ยงน้ำชาสัมมนา
ในจีน ชาได้กลายเป็นวัฒนธรรมพิเศษชนิดหนึ่งแล้ว ผู้คนถือการต้มน้ำชาและการชิมชาเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน ท้องถิ่นต่าง ๆ ของจีนมีโรงน้ำชาหรือร้านน้ำชามากมาย ที่ถนนเฉียนเหมินซึ่งเป็นย่านคึกคักของกรุงปักกิ่งก็มีร้านน้ำชาโดยเฉพาะ ผู้คนสามารถดื่มชา กินอาหารพื้นเมืองและชมการแสดงต่าง ๆ เป็นวิธีพักผ่อนที่สบาย
ในทางภาคใต้ของจีน นอกจากมีร้านน้ำชาและโรงน้ำชาแล้ว ยังมีเพิงน้ำชากลางแจ้ง ส่วนมากจะสร้างตามสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ นักท่องเที่ยวจะนั่งดื่มชาและชมวิวไปด้วย
ถ้ากล่าวถึงความเคยชินในการดื่มชา ทุกที่จะไม่ค่อยเหมือนกัน เช่น ชาวปักกิ่งชอบชามะลิ ชาวเซี่ยงไฮ้ชอบชาเขียว ชาวฮกเกี้ยนที่อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีนชอบชาแดง ในท้องถิ่นบางแห่ง ผู้คนชอบใส่เครื่องปรุงรสในน้ำชา
มณฑลหูหนานทางภาคใต้ของจีนจะเลี้ยงแขกด้วยชาขิงเกลือ คือนอกจากมีใบชาแล้ว ยังมีเกลือ ขิง ถั่วเหลืองผักสุกและเมล็ดงา เทใส่ในแก้วทั้งหมดและชงน้ำแช่ไว้ ดื่มน้ำชาก่อน สุดท้ายจึงเทถั่วเหลือง เมล็ดงา ขิงและใบชาเข้าปาก ค่อย ๆ เคี้ยวจนได้กลิ่นหอม ดังนั้นท้องถิ่นบางแห่งจึงเรียกว่ากินชา
วิธีชงชาของท้องถิ่นต่าง ๆ ก็ไม่เหมือนกัน เช่นทางภาคตะวันออกของจีนส่วนมากจะใช้กาใหญ่ พอมีแขกเข้าบ้าน ก็ใส่ใบชาในกาและเทน้ำร้อนใส่ลงไป แช่ไว้จนได้กลิ่นและสีชาแล้วจึงรินใส่แก้วให้แขกดื่ม บางท้องถิ่นของจีนเช่นเมืองจางโจวของมณฑลฮกเกี้ยนจะมี กังฮูเต๊ มีเครื่องถ้วยชากาชาเป็นชุดและมีวิธีการชงชาที่พิเศษ จึงกลายเป็นศิลปชาที่มีเอกลักษณ์ของพื้นเมือง
ในท้องถิ่นบางแห่งของจีน มารยาทการดื่มชาก็ไม่เหมือนกัน ที่กรุงปักกิ่ง พอเจ้าของบ้านยกถ้วยน้ำชามาให้ แขกต้องลุกขึ้นทันที เอาสองมือรับไว้และขอบคุณด้วย
ในทางภาคใต้ของจีนเช่นมณฑลกวางตุ้ง มณฑลกวางสีเป็นต้น พอเจ้าของบ้านยกชามาให้ แขกตั้องใช้นิ้วกลางขวามือเคาะโต๊ะเบา ๆ สามครั้ง เพื่อแสดงความขอบคุณ
ในบางท้องถิ่น ถ้าแขกอยากจะดื่มชาต่อ ก็ควรเหลือน้ำชาสักเล็กน้อยไว้ในถ้วย เจ้าของบ้านเห็นแล้วก็จะรินชาเติมให้ ถ้าดื่มน้ำชาในถ้วยจนหมด เจ้าของบ้านก็จะคิดว่าแขกไม่อยากดื่มอีก ก็จะไม่เติมน้ำชาให้อีกแล้ว
แหล่งที่มา : http://thai.cri.cn/chinaabc KUBET