ในบรรดาการแพทย์แผนโบราณชนิดต่างๆของจีนนั้น การแพทย์แผนโบราณของชาวฮั่นมีประวัติยาวนานที่สุด มีประสบการณ์และมีทฤษฏีสมบูรณ์ที่สุด
การแพทย์แผนโบราณจีนกำเนิดจากลุ่มแม่น้ำเหลืองของจีน ได้สร้างระบบทางทฤษฏีมาแต่ดั้งเดิม ในแต่ละยุคสมัย การแพทย์แผนโบราณจีนก็มีการสร้างสรรค์ที่ไม่เหมือนกัน ได้กำเนิดหมอจีนที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก และเกิดสำนักแพทย์และตำราแพทยศาสตร์ที่สำคัญจำนวนมากมาย
ในบันทึกตัวอักษรบนกระดองเต่ายุคสมัยราชวงศ์อินซัง ที่ห่างจากปัจจุบันกว่า 3,000 ปีนั้น ก็เริ่มมีบันทึกเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและโรค 10 กว่าชนิดแล้ว
ถึงราชวงศ์โจว เริ่มมีการใช้วิธีการตรวจวินิจฉัย 4 อย่างคือ มอง ฟัง ถามและแมะ ตลอดจนวิธีการรักษาโรคต่างๆ เช่นการจ่ายยา การฝั่งเข็มและการผ่าตัดเป็นต้น
ในยุคสมัยราชวงศ์ฉินและราชวงศ์ฮั่นนั้น ได้มีบทประพันธ์ตำราแพทยศาสตร์ที่มีระบบชื่อ “หวาง ตี้ เน่ย จิง” ถือเป็นตำราแพทย์แผนโบราณจีนที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน ส่วนบทประพันธ์เรื่อง “ซางหัน จ๋าปิ้งลุ่น” (แปลว่า “ว่าด้วยโรคไข้ตัวร้อนชนิดต่างๆ”)ที่เขียนโดยนายจาง จุ้งจิ่ง ได้บรรยายวิธีการวินิจฉัยและหลักการรักษาของโรคชนิดต่างๆ ปูพื้นฐานให้กับการพัฒนาการแพทย์ภาคปฏิบัติรุ่นหลังๆ
เมื่อถึงสมัยราชวงศ์ฮั่น แพทย์ศัลยกรรมมีระดับที่ค่อนข้างสูงแล้ว ตามบันทึกใน”ตำนานซานกั๋ว” ฮวา ถว๋อ หมอจีนที่มีชื่อเสียงมากได้เริ่มใช้ยา”หมา เฟ่ย ส่าน” ซึ่งเป็นยาสลบทั้งร่างกายในการผ่าตัดศัลยกรรมต่างๆ
ตั้งแต่สมัยเว่ยจิ้นหนันเป่ยเฉา (ค.ศ.220-ค.ศ.589)จนถึงสมัยราชวงศ์สุย ถัง และอู่ไต้(ค.ศ.581-ค.ศ.960) การวินิจฉัยโรคด้วยวิธีการแมะได้ประสบผลมาก นายหวัง ซูเหอ นายแพทย์ที่มีชื่อเสียงในสมัยจิ้นได้เขียนตำราชื่อ”ตำราว่าด้วยระบบเส้นโลหิต” ได้สรุปรวบรวมลักษณะของชีพจร 24 อย่าง
หนังสือเล่มนี้ไม่เพียงแต่มีความสำคัญต่อการพัฒนาแพทยศาสตร์ของจีนเท่านั้น หากยังได้เผยแพร่ออกไปยังต่างประเทศอีกด้วย ในสมัยนั้น สาขาการแพทย์ต่าง ๆ ได้พัฒนาจนเป็นวิชาการเฉพาะทางค่อนข้างชัดเจน เช่น ตำราด้านการฝั่งเข็มมี “ตำราฝั่งเข็ม”
ตำราด้านการกลั่นยาเม็ดอายุวัฒนะมี “เป้าพูจื่อ” และ “โจ่วโฮ่วฟาง” ในด้านการผลิตยาก็ มี “เหลยกง เผ้าจิ่ว ลุ่น” ด้านศัลยกรรมมีตำราชื่อ “หลิวจวนจื่อกุ่ยอี๋ฟัง” นอกจากนี้ ยังมีตำราที่เขียนถึงด้านเหตุการณ์เกิดโรคชนิดต่างๆเรื่อง ”ว่าด้วยเหตุผลของโรคชนิดต่างๆ” และบทประพันธ์เรื่อง “หลู หลู่ จิง” ซึ่งเป็นตำราด้านกุมารเวชวิทยา
“รวบสมุนไพรฉบับใหม่”เป็นหนังสือรวบรวมตำหรับยาฉบับแรกในโลก และยังมี ”หยินไห่จริงเวย” ซึ่งเป็นตำราจักษุแพทย์ นอกจากนี้ ในสมัยราชวงศ์ถังยังมีตำรา ”เชียนจินเย่าฟาง” ที่ประพันธ์โดยซุน ซือเหมี่ยวและ ”ไหว้ไถมี่เย่า” ซึ่งเป็นตำรายาที่ประพันธ์โดยนายหวัง เทาเป็นต้น
ในการศึกษาแพทยศาสตร์สมัยราชวงศ์ซ่ง(ค.ศ.960-ค.ศ.1279)นั้น การฝังเข็มได้รับการปฏิรูปครั้งสำคัญ นายหวัง เหวยอีได้ประพันธ์”ถงเหรินหยูวซ่วยเจินจิ่วถูจริง”ซึ่งเป็นตำราและภาพการฝั่งเข็มในตำแหน่งร่างกายด้วยหุ่นทองแดง หลังจากนั้น เขาได้ออกแบบหุ่นจำลองทองแดงที่มีตัวใหญ่เท่ากับตัวคนจริงเพื่อแสดงตำแหน่งต่างๆในร่างกาย 2 ตัวเพื่อใช้ในการสอนวิชาฝั่งเข็ม เรื่องนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาวิชาการฝังเข็มในรุ่นหลัง
ในสมัยราชวงศ์หมิง(ค.ศ.1368-ค.ศ.1644) มีนักแพทยศาสตร์จำนวนหนึ่งได้จำแนกผู้ป่วยไข้สูงออกเป็นโรคไทฟอยด์ (หรือที่หมอจีนเรียกว่าโรคเป็นไข้ตัวร้อน) โรคร้อนในและโรคห่าออกจากกัน จนถึงราชวงศ์ชิง วิทยาการโรคร้อนในได้พัฒนาถึงขั้นตอนสุกงอม มีตำรา”ว่าด้วยโรคร้อนใน”จึงเกิดขึ้น
ตั้งแต่ราชวงศ์หมิงเป็นต้นมา แพทยศาสตร์ตะวันตกได้เข้าประเทศจีน นักแพทยศาสตร์ส่วนหนึ่งเสนอให้ประสานแพทย์แผนโบราณจีนกับแพทย์ตะวันตกเข้าด้วยกัน นับเป็นจุดเริ่มต้นของการประสาน แพทย์แผนโบราณจีนกับแพทย์ตะวันตกเข้าด้วยกันในเวลาต่อมา
แหล่งที่มา : http://thai.cri.cn/chinaabc สูตรบาคาร่า