ความหมายวันสารทจีน
ตามปฏิทินจีน เทศกาลสารทจีนจะตรงกับวันที่ 15 เดือน 7 (ปฏิทินจีนโบราณ) ซึ่งถือเป็นวันสำคัญที่ลูกหลานชาวจีนจะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยพิธีเซ่นไหว้ และยังถือเป็นเดือนที่ประตูนรกเปิดให้วิญญาณทั้งหลายมารับกุศลผลบุญได้
วันสารทจีนของประเทศไทย
เพื่อเป็นการแก้อาถรรพ์ ชาวจีนจึงมีการเซ่นไหว้ด้วยของไหว้ สารทจีน หลากความหมาย ที่ปฏิบัติสืบกันมาเนิ่นนาน วันสารทจีน ถือเป็นเดือนสำคัญที่ลูกหลานจะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ และยังเป็นเวลาที่ประตูนรกเปิดให้บรรดาภูตผีออกเร่ร่อนตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งเทศกาลสารทจีน ตรงกับ วันเพ็ญ 15 ค่ำเดือน 7 ตามปีปฏิทินทางจันทรคติของจีน แต่ทางจันทรคติไทยกลับเป็น วันขึ้น 14 ค่ำเดือน 9 ตามปฏิทินจีนโบราณ เดือน 7
ชาวจีนทั้งหลายรู้สึกสงสารวิญญาณร้าย จึงทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ เมื่อประตูนรกเปิด เพื่อให้วิญญาณร้ายออกมารับกุศลผลบุญใน วันสารทจีน ซึ่งตรงกับ วันที่ 15 เดือน 7 เพราะเป็นวันที่เช็งฮีไต๋ตี๋จะตรวจดูบัญชีวิญญาณคนตาย ส่งวิญญาณดีขึ้นสวรรค์ และส่งวิญญาณร้ายลงนรก คนจีนจะมีไหว้เจ้าใหญ่ 8 ครั้ง เรียกว่าไหว้ 8 เทศกาลโป๊ะโจ่ย การไหว้เจ้า สารทจีน หรือ วันสารทจีน ซึ่งถือกันว่าเป็นเดือนผี เป็นเดือนที่ประตูนรกปิด-เปิดให้ผีทั้งหลายมารับกุศลผลบุญ
ประวัติวันสารทจีน
เทศกาลสารทจีน หรือ ประเพณีสารทจีนเป็นประเพณีที่ลูกหลานจะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษซึ่งล่วงลับไปแล้ว ยังเป็นประเพณีที่ ทุกคนในครอบครัวทำกิจกรรมร่วมกัน บางครั้งชาวจีนจึงเรียกวันดังกล่าวว่า กุ่ย เจี๋ย หรือ หวางเหรินเจี๋ย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ 15 ค่ำเดือน 7 ตามปฏิทินจันทรคติจีน คือ วันเทศกาลจงเยฺวี๋ยน วันเทศกาล ของจีน
การไหว้สารทจีนตรงกับวันที่ 15 เดือน 7 ซึ่งถือกันว่าเป็นเดือนผี เป็นเดือนที่ประตูนรกปิดเปิด ให้ผีทั้งหลายมารับกุศลผลบุญ ซึ่งในรอบหนึ่งปีชาวจีนจะมีไหว้เจ้าใหญ่ 8 ครั้ง เรียกว่าไหว้ 8 เทศกาลโป๊ะโจ่ย และวันสารทจีนยังเป็นวันที่เช็งฮีไต๋ตี๋จะตรวจดูบัญชีวิญญาณคนตาย ส่งวิญญาณดีขึ้นสวรรค์ และส่งวิญญาณร้ายลงนรก ชาวจีนรู้สึกสงสารวิญญาณ จึงทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ นรกจึงเปิดประตู เพื่อให้วิญญาณร้ายออกมารับกุศลผลบุญ ซึ่งชาวจีนเชื่อกันว่าวันเพ็ญ 15 ค่ำเดือน 7 เป็นวันซึ่งวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว จะได้กลับมาเยือนโลกมนุษย์เพื่อมาเยี่ยมครอบครัวของตน จึงได้ทำพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษกันทุกครัวเรือน
ชาวจีนได้ถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อมากันโดยตลอด ด้วยการเซ่นไหว้ และจะนำอาหารทั้งคาวหวาน และกระดาษเงินกระดาษทองไปวางไว้ที่หน้าบ้านหรือตามทางแยก เพื่อให้บรรดาวิญญาณเร่ร่อนที่กำลังจะผ่านมาใกล้ที่พักของตนมารับอาหาร ส่วนในบ้านเป็นของญาติและบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งหากไม่มีการไหว้วิญญาณเร่ร่อนด้วยแล้ว อาจทำให้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับถูกแย่งอาหารก็เป็นได้
กิจกรรมวันสารทจีน
ชาวจีนเชื่อกันว่าวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว จะได้กลับมาเยือนโลกมนุษย์เพื่อมาเยี่ยมครอบครัวของตน ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ 15 ค่ำเดือน 7 ซึ่งเป็นวันสารทจีน และในวันนี้ชาวจีนจะทำพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษกันทุกครัวเรือนโดยทำกิจกรรมหลักๆร่วมกัน
เผากระดาษเงินกระดาษทอง
ก่อนเผากระดาษ ต้องนำหินปูนมาขีดเป็นวงกลมซ้อนกัน 3-4 วงตรงลานบ้านที่จะใช้เผากระดาษ แล้วนำกระดาษเงินกระดาษทองวางไว้ให้อยู่ในวงกลมวงในสุดที่ขีดไว้ เป็นการเผากระดาษเงินกระดาษทองให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปนั้น ด้วยความเชื่อว่าวงกลมที่วงไว้โดยรอบจะกันมิให้ผีไร้ญาติมาแย่งชิงเอากระดาษเงินกระดาษทองไปได้ หลังจากนั้นจึงเผากระดาษเงินกระดาษทองที่เตรียมไว้ ขณะที่เผาก็กล่าวเชิญบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปให้มารับเงินทองที่เผาไปให้ โดยต้องพูดแบบไม่ขาดปากว่า ไหล หลิ่ง เฉียน แปลว่ามารับเงินด้วย โดยเอ่ยชื่อผู้ตาย ให้มารับเงินด้วย
เผากระดาษเงินให้กับผีไม่มีญาติ
หลังจากเผากระดาษเงินกระดาษทองที่อยู่ในเส้นวงกลมหมด ซึ่งเป็นการทำให้กับบรรพบุรุษแล้วบางบ้านอาจจะมีพิธีต่อคือ การเผากระดาษเงินให้กับผีไม่มีญาติ ด้วยการนำกระดาษเงินกระดาษทองอีกชุดหนึ่งมาวางไว้นอกเส้นวงกลม แล้วเผาเพื่อแผ่ส่วนบุญให้แก่ผีไร้ญาติ
คนจีนในบางถิ่นจะไปทำพิธีเซ่นไหว้ที่สุสานของบรรพบุรุษในตอนบ่าย ซึ่งกิจกรรมวันสารทจีนที่ทำในแต่ละถิ่นของจีน ไม่ได้เป็นรูปแบบเดียวกันทั่วประเทศ บางถิ่นก็ทำพิธีเซ่นไหว้ที่บ้าน แต่สิ่งที่ขาดมิได้ หรือที่ทำเหมือนกันทุกครัวเรือนก็คือ จะต้องจัดอาหารอย่างดีโต๊ะหนึ่งเซ่นไหว้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ถือเป็นการเลี้ยงส่งก่อนที่วิญญาณผู้ล่วงลับทั้งหลายจะกลับไปยังภพของตน
ข้อควรระวังเกี่ยวกับอัคคีภัยวันสารทจีน
เพราะเทศกาลสารทจีน นอกจากจะมีการไว้เจ้าแล้ว ยังมีการเผากระดาษเงินกระดาษทองอีกด้วย รวมถึงการจุดประทัด ซึ่งแต่ละบ้านอาจจะทำพิธีไม่เหมือนกัน เพื่อเป็นการป้องกันและปลอดภัยไว้ก่อนในช่วงเทศกาลสารทจีน จากประกอบพิธีบูชาเทพเจ้า และบรรพบุรุษ ให้ระวังเกิดอัคคีภัยและอุบัติเหตุจากประทัด ในวันสารทจีนจะมีการประกอบพิธีบูชาเทพเจ้า และบรรพบุรุษ โดยการประกอบอาหาร จุดธูปเทียน เผากระดาษเงินกระดาษทอง และจุดประทัด จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย และอุบัติภัยจากประทัด
เพื่อความปลอดภัยไม่ให้เกิดอัคคีภัยในช่วงเทศกาลสารทจีน ควรเพิ่มความระมัดระวังในการใช้ก๊าซหุงต้มและเชื้อเพลิงประเภทอื่นในการประกอบอาหาร และอย่าลืมปิดวาล์วถังก๊าซและดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังประกอบอาหารเรียบร้อยแล้ว
การประกอบพิธีกรรม จุดธูปเทียนในภาชนะทนไฟ ขณะที่จุดธูปเทียนควรดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่จุดธูปเทียนทิ้งไว้ และดับไฟให้สนิททุกครั้ง เผากระดาษเงินกระดาษทอง ในภาชนะทนไฟที่ปิดมิดชิด จะช่วยป้องกันไฟลุกลามติดวัสดุอื่น ทำให้เกิดเพลิงไหม้ได
ระวังเรื่องไฟไหม้แล้ว ก็หันมาดูเรื่องการจุดประทัด ซึ่งต้องไม่จุดประทัดในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ โดยเฉพาะภายในบ้านเรือน หรือใกล้แนวสายไฟ รวมถึงวัสดุที่ติดไฟง่าย เพราะประกายไฟจะกระเด็นไปติดวัสดุดังกล่าว ซึ่งจะเป็นสาเหตุของการทำให้เกิดเพลิงไหม้ รวมถึงออกห่างจากบริเวณที่จุดประทัดและ ไม่เข้าใกล้ประทัดที่จุดแล้ว เพื่อป้องกันสะเก็ดไฟกระเด็นเข้านัยน์ตาซึ่งอาจทำให้ตาบอด ไม่ให้เด็กนำประทัดไปจุดเล่น เพราะจะทำให้ได้รับบาดเจ็บถึงขั้นเสียชีวิตได้
แนวทางการการส่งเสริมกิจกรรมวันสารทจีน
เพราะเทศกาล วันสารทจีน เป็นประเพณีที่ลูกหลานจะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษซึ่งล่วงลับไปแล้ว การไหว้ในเทศกาลสารทจีน ถือเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่ง ที่มีการทำสิบต่อกันมาถึงลูกถึงหลาน ซึ่งพ่อแม่ก็จะคอยบอกและนำคนในครอบครัวปฏิบัติ เพื่อให้เป็นธรรมเนียมสืบต่อไป
การเตรียมชุดสำหรับไหว้เจ้าที่
เนื่องจากชาวจีนมีความเชื่อที่ว่าสีแดงเป็นสีแห่งความเป็นสิริมงคล ซึ่งชุดในการไว้เจ้าก็จะมีผลไม้ น้ำชา หรือเหล้าจีน และกระดาษเงินกระดาษทอง ซึ่งการไหว้เจ้าในตอนเช้า จะจัดชุดอาหารคาวหวาน ขนมที่ไหว้ก็มีขนมถ้วยฟู กุยช่าย ส่วนขนมไหว้พิเศษที่ต้องมีซึ่งเป็นประเพณีของสารทจีนคือขนมเทียนและขนมเข่ง ซึ่งต้องแต้มจุดสีแดงไว้ตรงกลาง
การเตรียม ชุดสำหรับไหว้บรรพบุรุษ
การเตรียมชุดสำหรับไว้บรรพบุรุษ คล้ายกับของไหว้เจ้าที่พร้อมด้วยกับข้าวที่บรรพบุรุษชอบ ขาดไม่ได้ก็คือขนมเทียน ขนมเข่ง ผลไม้และกระดาษเงินกระดาษทอง แต่โดยตามธรรมเนียมต้องมีน้ำแกงหรือขนมน้ำใสๆ วางข้างชามข้าวสวย และน้ำชาจัดชุดตามจำนวนของบรรพบุรุษ
ชุดสำหรับไหว้สัมภเวสี
การไหว้จะไหว้นอกบ้าน ซึ่งของไหว้จะมีทั้งของคาวหวานและผลไม้ตามต้องการและที่พิเศษคือมีข้าวหอมแบบจีนโบราณ คอปึ่ง เผือกนึ่งผ่าซีกเป็นเสี้ยวใส่ถาด เส้นหมี่ห่อใหญ่ น้ำชา เหล้า และกระดาษเงินกระดาษทองจัดทุกอย่างวางอยู่ด้วยกันสำหรับเซ่นไหว้ การจัดชุดสำหรับวิญญาณเร่ร่อนหรือวิญญาณไม่มีญาติที่เรียกว่า สัมภเวสี เป็นการสะท้อนความสุภาพและให้เกียรติของคนจีน เรียกผีไม่มีญาติว่าพี่น้องที่ดี
ขนมที่ใช้ไหว้ 5 อย่าง
ในสมัยโบราณชาวจีนใช้ขนมไหว้ 5 อย่าง เรียกว่า โหงวเปี้ย หรือเรียกชื่อเป็นชุดว่า ‘ปัง เปี้ย หมี่ มั่ว กี’ ปัง คือขนมทึงปัง เป็นขนมที่ทำมาจากน้ำตาล เปี้ย คือขนมหนึ่งเปี้ย คล้ายขนมไข่ หมี่ คือขนมหมี่เท้า ทำมาจากแป้งข้าวเจ้าข้างในไส้เต้าซา มั่ว คือขนมทึกกี่ เป็นขนมข้าวพองสีแดงตรงกลางมีไส้เป็นแผ่นบาง และกี คือขนมทึงกี ทำเป็นชิ้นใหญ่ยาวเวลาจะกินต้องตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ
เป็นประเพณีที่ลูกหลานจะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษซึ่งล่วงลับไปแล้ว และให้ทุกคนในครอบครัวทำกิจกรรมร่วมกันอย่างพร้อมหน้า ซึ่งในการเตรียมของไหว้นั้นจะใช้ขนมเทียน ขนมเข่งในการไหว้ โดยหลักของที่ไหว้ก็จะมีของคาว 3 หรือ 5 อย่าง เช่น ไก่ หมู เป็ด ไข่ หมึก ปลา เป็นต้น ของหวาน 3 หรือ 5 อย่าง เช่น ขนมเทียน ขนมมัดไต้ ขนมถ้วยฟู หรือขนมสาลี่ปุยฝ้าย ขนมเปี๊ยะ ส้ม หรือผลไม้ตามใจชอบ ประเพณีสารทจีน